top of page

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การวิเคราะห์และเลือกใช้เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวัน

    ความสามารถในการประเมินผลเทคโนโลยีจะช่วยให้ทราบข้อบกพร่อง และปรับปรุงพัฒนาเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดในการใช้ เช่น ไม่เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม หรือเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ เป็นต้น

การใช้เทคโนโลยีในระดับประเทศหรือผู้ประกอบการ        

ก. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ  ปัจจัยทางการตลาดมีผลต่อการเลือกเทคโนโลยีสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะการพิจารณาถึงปริมาณการผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีที่เลือกควรให้ตอบแทนทางการลงทุนที่คุ้มค่าในระดับการผลิตที่กำหนดให้สำหรับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกเทคโนโลยี กล่าวคือ ผลิตภัณฑ์ที่กำหนดคุณภาพสูง

ต้องใช้เทคโนโลยีที่ค่อนข้างซับซ้อนและมีราคาสูง หุ่นยนต์อาซิโม จากการพัฒนาเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์

ข. ปัจจัยที่เกี่ยวกับการลงทุน การเลือกเทคโนโลยีมีผลต่อการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน จำเป็นต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับการเงินที่ต้องลงทุนและประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ การเลือกเทคโนโลยีจึงแตกต่างกันไปตามป้จจัยทางการเงินของนักลงทุนแต่ละคน

ค. ปัจจัยทางเทคโนโลยีของโรงงาน โรงงานอันเกิดจากเทคโนโลยีนั้น จะต้องมีอายุการใช้งานให้เยาวชน บำรุงรักษาง่าย ผู้ซื้อสามารถรับเทคโนโลยีมาใช้งานต่อไปได้ เมื่อสิ้นสุดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและสามารถปรับปรุงและพัฒนาให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ที่ดียิ่งขึ้น

    ลักษณะเทคโนโลยีในการผลิตเป็นชุดหรือต่อเนื่อง มีผลต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน การบำรุงรักษาโรงงาน คุณภาพและชนิดของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งอัตราการใช้ทรัพยากรที่จำเป็นและมีขีดจำกัดสูง เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง การเพิ่มหรือลดอัตราการผลิต คุณภาพผลิตภัณฑ์ สามารถใช้วัตถุดิบและพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีว่ามีโอกาสทำให้เกิดมลภาวะต่อสภาพแวดล้อมมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะมีผลต่อคนงานและสาธารณะชนที่อาศัยโดยรอบโรงงาน อิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่ดีมีผลต่อค่าใช้จ่ายในการลงทุน การบำรุงรักษาโรงงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งอายุของโรงงาน ค่าใช้จ่ายในการจัดทำทะเบียนต่าง ๆ 

    การพิจารณาเลือกเทคโนโลยีควรพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ให้ถ่องแท้ ไม่ควรละลายค่าใช้จ่ายในการทำทะเบียนต่าง ๆ ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้ประเมินประสิทธิภาพการผลิต การใช้วัตถุดิบและพลังงานของโรงงาน รวมทั้งคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้วย ข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจทำให้กิจการล้มเหลวได้

ง. ความเหมาะสมของเทคโนโลยี ประเทศที่มีเทคโนโลยีไม่เพียงพอต่อการผลิตสินค้าหรือไม่สามารถผลิตเทคโนโลยีได้เอง จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศสำหรับประกอบการผลิต ต้องพิจารณาว่าเทคโนโลยีนั้นเหมาะสมกับสภาพของประเทศตนมากน้อยเพียงใด และคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีด้วย เช่นอาจก่อให้เกิดปัญหาการว่างงาน หรือใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นไม่เต็มที่

บทบาทของเทคโนโลยีต่อการดำรงชีวิต

    เทคโนโลยีมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เพราะมนุษย์ได้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องในการพัฒนาในด้านต่างๆเพื่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ เช่น

1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม  การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น แล้วยังช่วยประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและรักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์  เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ

2. เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น  เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาจะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศ

3.เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการสื่อสาร (เทคโนโลยีสารสนเทศ) โลกในทุกวันนี้ ที่การสร้างความสัมพันธ์ทางด้านสังคม กลับไม่ได้เป็นแค่การมาพบปะพูดคุย มองเห็นรูปร่างหน้าตา บุคลิกภาพหรือทำกิจกรรมร่วมกันแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่กลับอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาทางด้านสังคมให้เกิดขึ้น จนเราเรียกกันติดหูว่า สังคมเครือข่าย (Social Network) หรือสังคมออนไลน์นั่นเอง

เทคโนโลยีสะอาด

    กลยุทธ์ในการปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการ อย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดการทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ ให้เปลี่ยนเป็นของเสีย น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด จึงเป็นทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อม และการลดค่าใช้จ่าย ในการผลิตไปพร้อม ๆ กันด้วย สำหรับประเทศไทย การนำเทคโนโลยีสะอาด มาใช้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อ

1. เป็นการเสริมสร้าง ความสามารถ ในการแข่งขัน ในตลาดโลก เนื่องจากความได้เปรียบ ด้านต้นทุนและแรงงาน ของอุตสาหกรรมไทยมีน้อยลง

2. เป็นการพัฒนาขีดความสามารถ และประสิทธิภาพ ของการประกอบธุรกิจ เพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน ให้สอดคล้องกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8

หลักการของเทคโนโลยีสะอาด

1. การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด แบ่งได้เป็น 2 แนวทางใหญ่ ๆ คือ การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ และการเปลี่ยนแปลง กระบวนการผลิต

1.1 การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ อาจทำได้โดย การออกแบบ ให้มีผลกระทบ ต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด หรือให้มีอายุการใช้งาน ยาวนานขึ้น เช่น ปรับเปลี่ยนสูตรของผลิตภัณฑ์ เพื่อลดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อผู้บริโภคนำไปใช้ ยกเลิกการใช้ชิ้นส่วน หรือองค์ประกอบในผลิตภัณฑ์ ที่ไม่สามารถ นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และยกเลิกหีบห่อบรรจุ ที่ไม่จำเป็น เป็นต้น

1.2 การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และการปรับปรุง กระบวนการดำเนินงาน

1.2.1 การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ โดยการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ หรือมีความบริสุทธิ์สูง รวมทั้งลดหรือยกเลิก การใช้วัตถุดิบ ที่เป็นอันตราย เพื่อหลีกเลี่ยง การเติมสิ่งปนเปื้อน เข้าไปในกระบวนการผลิต และพยายามใช้วัตถุ ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น การเปลี่ยนหมึกพิมพ์เขียน จากประเภทใช้ตัวทำละลายเคมี ไปเป็นการใช้น้ำ เป็นตัวทำละลาย หรือเลิกใช้หมึกพิมพ์ ที่มีแคดเมียม ตลอดจนการไม่ใช้น้ำยาไซยาไนด์ หรือแคดเมียมในการชุบโลหะ เป็นต้น

1.2.2 การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ทำได้โดยการออกแบบใหม่ เพิ่มระบบอัตโนมัติ เข้าช่วยปรับปรุง คุณภาพของอุปกรณ์ และแสวงหาเทคโนโลยีใหม่มาใช้ เช่น

- เปลี่ยนอุปกรณ์ ตำแหน่งการวางอุปกรณ์ หรือระบบท่อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการเคลื่อนย้าย หรือขนถ่ายอุปกรณ์

ใช้ระบบอัตโนมัติ หรืออุปกรณ์ควบคุม ช่วยลดผลผลิตที่ด้อยคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน

- ปรับปรุงการดำเนินการผลิต เช่นอัตราการไหลอุณหภูมิ ความดันหรือระยะเวลา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดปริมาณของเสีย

- ติดตั้งอุปกรณ์การล้างน้ำ แบบทวนกระแส (COUNTER CURRENT FLOW)

-  ติดตั้งมอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ และควบคุมความเร็วของมอเตอร์ เพื่อลดการสิ้นเปลืองพลังงาน

ประโยชน์จากนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้

    เทคโนโลยีสะอาด เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ในการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำให้สามารถรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนา อุตสาหกรรมของประเทศ ผลของการใช้ เทคโนโลยีสะอาด สามารถช่วยให้

    - ลดของเสียจากการผลิต และประหยัดค่าใช้จ่าย ในการบำบัดของเสีย

    - ลดค่าใช้จ่ายในการผลิต เพราะใช้วัตถุดิบน้อยลง แต่ประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้น

    - เพิ่มผลการผลิต และเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์

    - ประหยัดพลังงาน

    - ลดความเสี่ยงและอุบัติเหตุ

    - เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และทำให้ภาพพจน์ขององค์กรดีขึ้น

หลักการของเทคโนโลยีสะอาด

1. การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด แบ่งได้เป็น 2 แนวทางใหญ่ ๆ คือ การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ และการเปลี่ยนแปลง กระบวนการผลิต

1.1 การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ อาจทำได้โดย การออกแบบ ให้มีผลกระทบ ต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด หรือให้มีอายุการใช้งาน ยาวนานขึ้น เช่น ปรับเปลี่ยนสูตรของผลิตภัณฑ์ เพื่อลดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อผู้บริโภคนำไปใช้ ยกเลิกการใช้ชิ้นส่วน หรือองค์ประกอบในผลิตภัณฑ์ ที่ไม่สามารถ นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และยกเลิกหีบห่อบรรจุ ที่ไม่จำเป็น เป็นต้น

1.2 การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และการปรับปรุง กระบวนการดำเนินงาน

1.2.1 การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ โดยการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ หรือมีความบริสุทธิ์สูง รวมทั้งลดหรือยกเลิก การใช้วัตถุดิบ ที่เป็นอันตราย เพื่อหลีกเลี่ยง การเติมสิ่งปนเปื้อน เข้าไปในกระบวนการผลิต และพยายามใช้วัตถุ ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น การเปลี่ยนหมึกพิมพ์เขียน จากประเภทใช้ตัวทำละลายเคมี ไปเป็นการใช้น้ำ เป็นตัวทำละลาย หรือเลิกใช้หมึกพิมพ์ ที่มีแคดเมียม ตลอดจนการไม่ใช้น้ำยาไซยาไนด์ หรือแคดเมียมในการชุบโลหะ เป็นต้น

1.2.2 การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ทำได้โดยการออกแบบใหม่ เพิ่มระบบอัตโนมัติ เข้าช่วยปรับปรุง คุณภาพของอุปกรณ์ และแสวงหาเทคโนโลยีใหม่มาใช้ เช่น

- เปลี่ยนอุปกรณ์ ตำแหน่งการวางอุปกรณ์ หรือระบบท่อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการเคลื่อนย้าย หรือขนถ่ายอุปกรณ์

ใช้ระบบอัตโนมัติ หรืออุปกรณ์ควบคุม ช่วยลดผลผลิตที่ด้อยคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน

- ปรับปรุงการดำเนินการผลิต เช่นอัตราการไหลอุณหภูมิ ความดันหรือระยะเวลา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดปริมาณของเสีย

- ติดตั้งอุปกรณ์การล้างน้ำ แบบทวนกระแส (COUNTER CURRENT FLOW)

- ติดตั้งมอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ และควบคุมความเร็วของมอเตอร์ เพื่อลดการสิ้นเปลืองพลังงาน

    - เป็นไปตามกฎหมาย ด้านสิ่งแวดล้อมของทางราชการ

 

bottom of page