top of page

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างและพัฒนาสิ่งของ

    เทคโนโลยีได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อย ๆ จากยุคต้น ๆ จนกลายเป็นยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษ (Great Britain) ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1790-1830 โดยการสนับสนุนของรัฐบาลอังกฤษ โดยในช่วง แรก ๆ ได้พัฒนาจากการเกษตรแบบขนบท  จากนั้นกลายเป็นการเกษตรแบบเมือง และกลายเป็นอุตสาหกรรมการผลิตในที่สุด อุตสาหกรรมการผลิตแห่งแรกในประเทศอังกฤษได้เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1740 ได้แก่อุตสาหกรรมสิ่งทอ  ต่อมา James Watt และ Thomas Newcomen  ได้ผลิตเครื่องจักรไอน้ำขึ้น ยุคอุตสาหกรรมได้แพร่หลายไปยังหลายประเทศในทวีปยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 19 และขยายไปยังอเมริกา รัสเซีย และญี่ปุ่นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 

    ในยุคนี้เทคโนโลยีเจริญรุดหน้ามาก คือ เทคโนโลยีด้านพลังงาน (Energy Technology) มีการสร้างกังหันลมและใช้พลังงานไอน้ำสำหรับการทำงานของเครื่องจักรกล และการค้นพบความรู้เรื่องไฟฟ้าเป็นผลให้คิดค้นสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ความรู้การถลุงแร่ทำให้เกิดโลหะวิทยาและเกิดเทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น นอกจากนี้ มีการสร้างโรงงานทอผ้าที่ใช้ความรู้ทางเคมีกับเรื่องสิ่งทอ ในตอนปลายของยุค วิศวกรโรงงานต่าง ๆ พัฒนาสิ่งแก่อสร้างต่าง ๆ เช่น สะพาน เขื่อน ท่อ การสื่อสารและคมนาคม เช่น ก่อสร้างถนน ขุดคลอง กิจการรถไฟ การสื่อสาร ระบบการพิมพ์ การถ่ายภาพ โทรเลข โทรศัพท์ เทคโนโลยีในยุคนี้ก้าวหน้ารวดเร็วมาก ส่วนใหญ่เป็นเทคโน ยุคนี้ถือเป็นการเจริญเติบโตอย่างมากหรือยุคทองทางด้านเทคโนโลยีอย่างมากกระบวนการผลิตทางเทคโนโลยีได้เพิ่มมากขึ้นในช่วงศตวรรษที่20 กระบวนการต่าง ๆ ที่นำไปสู่การเจริญเติบโตแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน

- ความเข้าใจพื้นฐาน (Basic information)

- การให้ความรู้ด้านเทคนิค (Technical education)

- การประเมินผลด้านเทคโนโลยี (Assessment of technology )

- อนาคตของเทคโนโลยี (Outlook)

    ยุคนี้เริ่มจากการบิน การส่งจรวด ความรู้ทางอิเล้กทรอนิกส์และระเบิดปรมาณู การประดิษฐ์คิดค้นวัสดุใหม่ ๆ ซึงมีทั้งสร้างสรรค์และทำลายสังคม การพัฒนาวิทยาการการบินและเทคโนโลยีทางอวกาศก้าวหน้ามาก เกิดความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายแขนง ทำให้มีการคิดค้นสร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างไม่มีขีดจำกัดโลยีตามความต้องการของสังคมอุตสาหกรรมขณะนั้น

หน้าสัมผัสแม่เหล็กไฟฟ้า(magnetic contactor)

    หน้าสัมผัสแม่เหล็กไฟฟ้า ใช้ตัดต่อเพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในวงจรไฟฟ้า เช่น มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ มอเตอร์พัดลม มอเตอร์ปั้มน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ช่วยลดกระแสที่จะผ่านหน้าสัมผัสของอุปกรณ์ควบคุมต่างๆได้แก่สวิตซ์ควบคุม เทอร์โมสตัท สวิตซ์ควบคุมความดัน รีเลย์หน่วงเวลา

การเลือกใช้ Magnetic contactor มีข้อกำหนดต่างๆ ดังนี้

1. ขนาดแรงเคลื่อนไฟฟ้าของขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (coil) เช่น 24V , 220V ,380V เป็นต้น

2. ความสามารถในการรับกระแสของหน้าสัมผัสหลัก (main contact) เช่น 20A , 30A , 60A เป็นต้น

3. ความต้องการในการใช้งานของหน้าสัมผัสช่วย (auxiliary contact)

4. จำนวนขั้วของหน้าสัมผัสหลักที่ต้องการใช้งาน เช่น 2 ขั้ว สำหรับระบบไฟฟ้า 220V หรือ 3 ขั้ว สำหรับระบบไฟ 380 V

1. รีเลย์ช่วยสตาร์ตชนิดทำงานด้วยกระแส (current relay) รีเลย์ช่วยสตาร์ตชนิดทำงานด้วยกระแสใช้ในวงจรที่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ต่อแบบ RSIR และ CSIR ทำหน้าที่คล้ายเป็นสวิตช์อัตโนมัติสำหรับ

ต่อและตัดวงจรไฟฟ้าของขดลวดสตาร์ตในมอเตอร์ การทำงานจะใช้กระแสที่ผ่านขดลวดรันเป็นตัวควบคุม จึงเรียกรีเลย์ชนิดนี้ว่า current relay

2. รีเลย์ช่วยสตาร์ตชนิดทำงานด้วยความต่างศักย์ไฟฟ้า (potential relay) รีเลย์ช่วยสตาร์ตชนิดทำงานด้วยค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า ใช้ในวงจรที่มอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์ต่อแบบ CSR โดยอาศัยค่าความศักย์ที่เกิดจากขดลวดสตาร์ตของมอเตร์กระทำผ่านขดลวดในรีเลย์ ทำการตัดหน้าสัมผัสในรีเลย์ จึงเรียกรีเลย์ชนิดนี้ว่า potential relay

3. อุปกรณ์ป้องกันมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ทำงานเกินพิกัด (overload protector) อุปกรณ์ป้องกันมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ทำงานเกินพิกัดทำหน้าที่ป้องกันขดลวดภายในมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไม่ให้เสียหายเมื่อกระแสผ่านขดลวดมากผิดปกติ (Overload) หรือเมื่อขดลวดร้อนจัด (overheat) ที่ใช้สำหรับคอมเพรสเซอร์ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ

3.1. ชนิดติดตั้งภายนอก (external line-break overloads) ตัวอุปกรณ์ป้องกันติดตั้งอยู่ภายนอกตัวคอมเพรสเซอร์ ทำหน้าที่ตัดวงจรเมื่อกระแสผ่านขดลวดในมอเตอร์มากผิดปกติ และบางชนิดจะติดตั้งโดยแนบตัวอุปกรณ์ป้องกันชิดกับเปลือกนอกของคอมเพรสเซอร์ ดังรูปที่ 11.5 เพื่อตัดวงจรเมื่อคอมเพรสเซอร์ร้อนจัดจนอาจทำให้ขดลวดภายในเสียหายได้ การเลือกขนาดของอุปกรณ์ป้องกันจะต้องมีความสัมพันธ์กับขนาดกำลังม้าของคอมเพรสเซอร์

3.2. ชนิดติดตั้งภายใน (internal line-break overloads) ตัวอุปกรณ์ป้องกันจะติดตั้งภายในคอมเพรสเซอร์ โดยแนบตัวอุปกรณ์ป้องกันสัมผัสกับขดลวดของมอเตอร์ จึงสามารถทำหน้าตัดวงจรได้ทั้งเมื่อกระแสผ่านขดลวดมากผิดปกติ และเมื่อขดลวดร้อนจัดซึ่งสาเหตุหลักจะเกิดขึ้นเมื่อสารทำความเย็นภายในระบบน้อยเกินไป และเนื่องจากติดตั้งอยู่ภายใน เมื่อระบบทำงานผิดปกติจนอุปกรณ์ป้องกันตัดวงจร จะต้องใช้เวลานานนับชั่วโมง หน้าสัมผัสภายในอุปกรณ์ป้องกันจึงจะกลับไปต่อวงจรเพื่อให้มอเตอร์ทำงานใหม่

องค์ประกอบผลิตภัณฑ์  (Product   Component) 

1. ผลิตภัณฑ์หลัก (Core  Product)  บริษัทต้องมีความรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้  ผลิตภัณฑ์ของบริษัทต้องมีความชัดเจนว่าเป็นสบู่บำรุงผิว   กาแฟทรีอินวัน   น้ำยาล้างจาน   รถยนต์ขนาดเล็กเพื่อใช้ในเมือง  รถขนาดกลางสำหรับครอบครัว ฯลฯ   ผลิตภัณฑ์ที่ขายเป็นสินค้า   บริการ  บุคคล  สถานที่หรือแนวความคิด  ต้องกำหนดลงไปให้แน่ชัด

2. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์  (Product  Attribute)  เราต้องทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตมาจากอะไร  มีคุณสมบัติอย่างไร   ลักษณะทางกายภาพ  ขนาด  จุดเด่น  ความงาม  ความคงทน  ด้านรูปร่าง  รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตัวของมันเอง

3. จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ (Product   Feature)  เราต้องรู้ว่าสินค้าของเรามีอะไรเด่นเป็นพิเศษ  (Differentiation)  กว่าสินค้าอื่น  เพื่อดึงดูดลูกค้าให้ใช้สินค้าของเรา  เช่น  แป้งเด็กจอห์นสันมีส่วนประกอบที่สามารถป้องกันผดผื่นได้ถึง  2  เท่า   ไส้กรอกเรซินช่วยลดความกระด้างของน้ำ  ฯลฯ

4. ผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์  (Product  Benefit)  ลูกค้าส่วนใหญ่มักจะสับสนระหว่างจุดเด่นผลิตภัณฑ์  และผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์  ซึ่งจะแตกต่างกัน จุดเด่นผลิตภัณฑ์  คือ  สิ่งที่อยู่ในตัวสินค้า  ส่วนสิ่งที่เป็นผลประโยชน์แก่ลูกค้าที่เกิดขึ้นในความรู้สึกของลูกค้า  เรียกว่า  ผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง  เช่น  ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกส์   คอนเซนเทรท  จุดเด่น คือ  มีท่อต่อน้ำยาพิเศษเพื่อน้ำยาจะตรงผ่านหนังศีรษะ  และซึมซาบเข้าสู่เส้นผมได้อย่างสะดวกและทั่วถึง  ส่วนประโยชน์ที่ได้รับ คือ  ทำความสะอาดผมและหนังศีรษะและทำให้รากผมแข็งแรง   ฯลฯ  ผลประโยชน์ของผลิตภัณฑ์สามารถแบ่งออกเป็น  3  ประเภท  คือ

4.1 ผลประโยชน์ที่ผลิตภัณฑ์พึงมี (Defensive  Benefit)  หรือผลิตภัณฑ์หลั (Core  product)  หมายถึง  ประโยชน์หลัก (Core  benefit)   หรือประโยชน์พื้นฐานที่ผู้ซื้อจะได้รับจากสินค้าแต่ละชนิด  ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ผู้ซื้อใช้ในการพิจารณาตัดสินใจซื้อ  เช่น  ลิปสติก

4.2 ผลประโยชน์พิเศษ (Extra  Benefit)  ที่ทำให้เหนือกว่าคู่แข่งขัน  เพื่อทำให้ชนะคู่แข่งขัน  เช่น  ส่วนผสม (Raw  Design)  สี (Color)  การหีบห่อ (Packaging)  ตรา (Brand)  รส (Taste)  กลิ่น (Smell)  และอุปกรณ์เพิ่มเติม (Accessories)  เป็นต้น  คุณสมบัติเหล่านี้มีขึ้นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความสมบูรณ์   สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อได้ครบถ้วนมากขึ้นตามลักษณะของสินค้าแต่ละชนิด  นาฬิกา   นอกจากจะบอกเวลาที่เที่ยงตรงแล้วยังควรจะผลิตจากวัสดุอย่างดี  มีรูปแบบดี   มีการบรรจุกล่องอย่างสวยงาม  เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป   ห้องพักที่โรงแรมต้องมีหมอน  เตียง  ผ้าเช็ดตัว  ห้องอาบน้ำ  และตู้เสื้อผ้าในห้อง  เป็นต้น

4.3  ผลประโยชน์เสริม (Fringe  Benefit)  ที่ทำให้สินค้าแตกต่างไปจากคู่แข่งขัน   หรือหมายถึง  ประโยชน์เพิ่มเติมที่ผู้ซื้อได้รับนอกเหนือจากสินค้าปกติ  เช่น  การบริการหลังการขาย  (After  Sales  Service)  การรับประกันความเสียหาย (Guarantees)  การซ่อม (Repairs)  การขนส่ง  (Delivery)  การให้สินเชื่อ (Credit)  การมีอะไหล่  (Spare   Parts)  การซื้อคืน  (Trade – In)  ชื่อเสียงและคุณธรรมของบริษัท (Corporate  Image  and  Ethics)  และการมีตราสินค้าที่มีชื่อเสียง  (Well – know  Brand  Name)  เป็นต้น  เช่น  ห้องพักในโรงแรมก็ควรจะมีเตียงและผ้าเช็ดตัวที่สะอาด  มีความสงบเงียบ    มีทีวีที่ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ  มีตู้เย็น  มีการตกแต่งด้วยดอกไม้  มีการบริการลงทะเบียนเข้า -  ออกที่รวดเร็วและมีห้องอาหารที่ดีบริการ ฯลฯ

ประเภทของผลิตภัณฑ์

การจำแนกประเภทของผลิตภัณฑ์ 

    อาจใช้หลักเกณฑ์หรือมาตรฐานในการจำแนกได้หลาย ๆ แบบ  เช่น  จำแนกตามลักษณะของสินค้า   เป็นสินค้าที่ใช้แล้วสิ้นเปลือง  หมดไป  หรือสินค้าใช้ถาวร  การที่จะจำแนกประเภทโดยวิธีใดขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการนำไปใช้ประโยชน์  โดยทั่ว ๆ ไปสามารถจำแนกประเภทผลิตภัณฑ์โดยยึดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด (Market  Target)  สามารถแบ่งออกเป็น  2  ประเภท  ดังนี้

1. สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer  Goods)  หมายถึง  สินค้าหรือบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภคขั้นสุดท้าย (Final  consumer)  ความต้องการในการบริโภคสินค้าประเภทนี้  มักเกิดขึ้นอย่างอิสระจากความต้องการและความคิดส่วนตัว  ซึ่งอาจจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน  เช่น  ซื้อเพราะชอบสีสรรหรือความสวยงามต่าง ๆ ซื้อเพราะตามอย่างคนอื่น  ซื้อเพราะประหยัด  หรือซื้อเพราะมีเหตุจูงใจให้ซื้อ  (Buying  Motives)  เป็นต้นว่า  ซื้อเพราะอารมณ์ (Emotional)  เช่น  ซื้อรองเท้าเพราะชอบรูปทรงและลวดลายที่แปลก  หรือซื้อเพราะเหตุผล (Rational)  เช่น  ซื้อแว่นตาเพราะเหตุที่สายตาสั้น  เป็นต้น

2. สินค้าอุตสาหกรรม (Industrial  Goods)  หมายถึง  สินค้าในตลาดอุตสาหกรรม  ซึ่งผู้ซื้อจะซื้อไปเพื่อเป็นปัจจัยในการผลิต   เพื่อการขายต่อ  เพื่อให้การบริการ  เพื่อการดำเนินงานขององค์กรต่าง ๆ   ซึ่งรวมเรียกผู้ซื้อสินค้าประเภทนี้ว่าผู้ซื้อทางอุตสาหกรรม

bottom of page